สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยพร้อมคณะทำงานร่วมกันจัดทำหลักสูตรและออกแบบกระบวนการ การอบรมเสริมศักยภาพแกนนำในการทำงาน การจัดการโรค NCDs ในระดับพื้นที่

25-26 กุมภาพันธ์ 2568 – 09.00 TK. Palace Hotel & Convention

สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยพร้อมคณะทำงานร่วมกันจัดทำหลักสูตรและออกแบบกระบวนการ การอบรมเสริมศักยภาพแกนนำในการทำงาน การจัดการโรค NCDs ในระดับพื้นที่

วันที่ 25-26 ก.พ. 68 สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยคณะทำงานโครงการสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเพื่อขยายผลการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพระดับปฐมภูมิและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม โดยมี ดร.วิสุทธิ บุญญะโสภิต เป็นประธานในที่ประชุม โดยเป็นการประชุมกลไกคณะทำงานกลางเพื่อรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและจัดทำหลักสูตรเพื่อเสริมศักยภาพแกนนำในการทำงานระดับพื้นที่  ร่วมกันออกแบบเนื้อหาหลักสูตรและกระบวนการอบรมเพื่อใช้ในการอบรมให้กับเครือข่ายพื้นที่ทั้ง 12 เขตสุขภาพ

     นายธนพลธ์ ดอกแก้ว คณะทำงานและเลขานุการ กล่าวรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและนำเสนอแผนยกร่างหลักสูตรโดยใช้โครงสร้างหลักสูตรว่าด้วยหัวข้อเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ NCDs แนวทางการป้องกัน และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ  การจัดการโรค NCDs ระดับชุมชน และการพัฒนาโครงการร่วมระหว่างเครือข่ายประชาชน และหน่วยบริการสุขภาพ

เนื้อหาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือ คู่มือสำหรับประชน”  ว่าด้วยวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) พัฒนาศักยภาพและสร้างแกนนำและเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2) สนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ

3) สื่อสารสร้างความรู้และความเข้าใจในการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 

4) พัฒนาโครงการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพร่วมระหว่างหน่วยบริการสุขภาพและประชาชนให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  แกนนำสุขภาพชุมชน  ตัวแทนองค์กรภาคประชาชน  บุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานร่วมกับภาคประชาช

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 

1)เกิดเครือข่ายแกนนำสุขภาพที่มีศักยภาพในการจัดการ NCDs

2)ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของ NCDs 

3)หน่วยบริการสุขภาพและชุมชนมีความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 

4)มีโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน

เว็บไซต์สมาคมเพื่อนโรคไตฯ: https://www.kfat.or.th/สอบถามข้อมูล โทร 02-2483735 ต่อ 124
facebook : เพจ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล : สมาคมเพื่อรโรคไตแห่งประเทศไทย
ที่มา : สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
v
v
v
ด้วยความปรารถนาดีจากสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอคำปรึกษาได้ที่นี่ !