ลดเค็ม ลดการเกิดโรคไต

 

ลดเค็ม ลดการเกิดโรคไต

 

ลดเค็มชะลอไตเสื่อม 

  หลายคนอาจสงสัยว่า “การกินเค็ม” มีผลอย่างไรกับร่างกาย ทำให้เป็นโรคไตหรือไม่? รสเค็มในอาหารที่เรารับประทานอยู่เกิดจากปริมาณโซเดียม (sodium) ที่เจือปนอยู่ในอาหารอาหารที่มีปริมาณโซเดียมอยู่มากก็จะมีรสเค็มมาก อาหารจากธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณไม่มาก โซเดียมจะพบมากในเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ โดยเฉพาะที่มีรสเค็มและรสจัด เช่น

  • เกลือแกง
  • น้ำปลา
  • ซีอิ๊ว
  • ผงชูรส
  • ซอสชนิดต่างๆ เช่น ซอสหอยนางรม ซอสถั่วเหลือง น้ำจิ้ม
  • ในอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง
  • ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็มักจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ในปริมาณมาก

ปริมาณโซเดียมที่ควรรับประทานในแต่ละวันตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่ากับเกลือแกงประมาณ 5 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) หรือเทียบเท่ากับน้ำปลาหรือซีอิ๊วประมาณ 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง

            การกินเค็มจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเข้าไปในปริมาณมาก ซึ่งอวัยวะที่หลักจะช่วยรักษาสมดุลของโซเดียมในร่างกายก็คือ “ไต”

การลดเค็มเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง   เพราะเกลือทำให้มีการสะสมของน้ำในร่างกายเยอะขึ้น ส่งผลให้เกิดการคั่งและบวม ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขจัดออก แรงดันในหน่วยไตสูงขึ้นจนพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ดังนั้นการลดเค็มจึงเป็นการช่วยไตไม่ให้ทำงานหนัก เมื่อร่างกายไม่บวม แรงดันในหน่วยไตปกติ ไม่เกิดโปรตีนรั่ว สามารถช่วยชะลอไตเสื่อมได้

เทคนิคลดโซเดียม

  • ไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2 กรัมต่อวัน 
  • ระวังอาหารที่ไม่เค็ม แต่มีโซเดียม เช่น อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรส ผงชูรส อาหารหมักดอง ขนมปังที่ใส่ผงฟู ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น 
  • ทำอาหารเองได้ย่อมดีที่สุด เพราะควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหารได้ โดยเฉพาะการเลือกเครื่องปรุงที่โซเดียมต่ำและใส่ให้น้อยลง
  • เลี่ยงอาหารเสริมที่มีปริมาณโซเดียมสูง ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนรับประทาน
เว็บไซต์สมาคมเพื่อนโรคไตฯ: https://www.kfat.or.th/สอบถามข้อมูล โทร 02-2483735 ต่อ 124
facebook : เพจ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
v
v
v
ด้วยความปรารถนาดีจากสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอคำปรึกษาได้ที่นี่ !